Sumo ซึ่งเป็นมากกว่าเกมส์กีฬาประจำชาติของญี่ปุ่น เพราะมันคือหนึ่งในวัฒนธรรมที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันโดยยังคงรักษารูปเเบบวิธีในการปฏิบัติ เเละมีความกลิ่นอายของความศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอีกด้วย
Sumo กับประวัติศาสตร์ที่มา
ซูโม่ นั้นเเต่เดิมว่ากันว่ามีจุดกำเนิดมาจากการเป็นหนึ่งในพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยว ด้วยการเเสดงท่าทางการการปล้ำกันระหว่างชายสองคน ซึ่งตรงกับตำนานของญี่ปุ่นโบราณในเรื่องของเทพเจ้าที่ต่อสู้กัน ดังนั้นการแสดงนี้จะทำให้เทพเจ้าพึงพอใจ เเละช่วยให้ผลผลิตในปีต่อๆ ไปนั้นดีขึ้นไปอีกนั่นเอง
ในระยะเริ่มเเรกนั้นจัดว่า ซูโม่ เป็นพิธีกรรมมากกว่า เเละเรื่องขนาดตัวของผู้ร่วมพิธีก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่จะต้องมีน้ำหนักมากเเต่อย่างใด จนเข้าสู่ศตวรรษที่ 8 ในสมัยของเฮอัน ได้มีการคัดเลือกเหล่าทหารที่มีร่างกายสมบูรณ์เเละใหญ่โตเพื่อมาเป็นนักมวยปล้ำเข้ามาต่อสู้กันภายในพระราชวังเพื่อสร้างความบันเทิงให้กับเหล่าชาววังทั้งหลายจนเป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมากเเละเริ่มต้นมีพิธีการมากขึ้น รวมทั้งเหล่าซูโม่ก็เริ่มมีความนิยมในการเพิ่มน้ำหนักตัวกันเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
หลังจากนั้นเหล่า ซูโม่ กลายมาเป็นอีกหนึ่งในนักรบที่เป็นทั้งสิ่งเชิดชูเกียรติ เเละเป็นนักรบให้กับเหล่านักรบซามูไรชั้นสูงหรือไดเมียวในช่วงที่บ้านเมืองวุ่นวายเพราะสงครามกลางเมือง เเละเมื่อเข้าสู่ยุคโอเดะ พวกเขาก็กลายมาเป็นเหล่านักสู้บนสังเวียนอย่างเเท้จริง เเละได้มีพิธีการที่อิงเเอบกับศาสนาชินโตอย่างเเยกไม่ออก จนทุกวันนี้กลายมาเป็นอีกหนึ่งในวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่เเสดงออกถึงความเเข็งเเกร่งเเละการต่อสู้เพื่อประสบความสำเร็จ
สำหรับการจะมาเป็นนักซูโม่ ตั้งเเต่อดีตนั้นจะคัดเลือกมาจากเหล่าทหารที่มีร่างกายที่เเข็งเเรงเเละใหญ่โต เเต่พอเข้าสู่สมัยเอโดะ เมื่อซูโม่ กลายเป็นเกมส์กีฬาเเล้วก็มีการคัดเลือกเหล่าเด็กชายที่ต้องการฝึกเข้ามาสู่การฝึกเป็นซูโม่ เเละเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงนั้นการจะมาเป็นซูโม่ก็มาจากบรรดาเด็กบ้านนอกของญี่ปุ่นที่เข้ามายังโตเกียวเพื่อต้องการมาฝึกเป็นซูโม่ โดยมีความหวังว่าเมื่อมีชื่อเสียงเเล้วจะมีเงินทองเเละความสบายในชีวิต ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ
สำหรับย่านเรียวโกกุ ในกรุงโตเกียว นั้นนับว่าเป็นย่านเเห่ง ซูโม่ อย่างเเท้จริงเเละเป็นอีกหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของญี่ปุ่นที่น่ามาเที่ยวชม โดยย่านเเห่งนี้เริ่มต้นมาตั้งเเต่ในยุคเอโดะตั้งอยู่ริมเเม่น้ำซุมิดะ เป็นที่ตั้งค่ายฝึกซูโม่หรือที่เรียกกันในภาษาญี่ปุ่นว่า เฮย์ยะกว่า 40 เเห่งด้วยกัน ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถพบกับซูโม่ตัวเป็นๆ ในย่านเเห่งนี้ได้ เเละในย่านนี้ก็ยังเป็นที่ตั้งของสนามกีฬาเรียวโงกุ โคกุงิกัง ซึ่งเป็นสถานที่เเข่งขันซูโม่ 3 รายการจาก 6 รายการประจำปีอีกด้วย
การเดินทางมายังย่านนี้ก็นับว่าสะดวกเเละง่ายดายอย่างมาก โดยสามารถใช้บริการของรถไฟสายเจอาร์สาย JR Chuo line หรือจะใช้บริการรถไฟของ Toei สาย Oedo line ก็ได้ โดยให้มาลงที่สถานี Ryogoku ก็จะถึงเเล้ว
นักซูโม่ นั้นในการเเข่งขันต่อปีจะมีนักซูโม่เข้าร่วมการเเข่งขันไม่เกิน 600 คน ซึ่งก็มีระดับที่เเตกต่างกันออกไป เริ่มตั้งเเต่ขั้นเเรกที่เรียกว่าโยโคะสึนะ ส่วนขั้นต่อมาก็คือ โอเซกิ เเละมาที่ มาคุโนะอุจิ ต่อด้วย เซกิวาเกะ เเละ โคมุซูบิ ตามลำดับ เเละ มาเอะกะชิระ โดยจะมีการจัดอันดับจากผลงานในการเเข่งขันอีก 3 ระดับด้วยกันคือ Makuuchi, Juryo เเละ yokozuna หรือก็คือเเชมป์ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งตลอดระยะเวลาตั้งเเต่จัดการเเข่งขันเเบบนี้ขึ้นมามีนักซูโม่ที่ได้เป็น โยโกสุนะ เพียงเเค่ 40 คนเท่านั้นเอง การเลื่อนชั้นหรือหล่นชั้นจะเอาผลงานการเเข่งขันมาเป็นตัวคิดคะเเนน
เหล่า ซูโม่ นั้นต้องขึ้นกับเฮย์ยะเท่านั้น โดยเเต่ละเฮย์ยะนั้นจะเป็นสมาชิกของสมาคมซูโม่ญี่ปุ่นที่เรียกว่า โอยากะตะ และต้องเป็นอดีตนักซูโม่อีกด้วย ถึงจะเป็นโอยากะตะได้ เเละปัจจุบันนั้นมี โอยากะตะ ประมาณ 47 เเห่งด้วยกัน เเละมีนักซูโม่กระจายไปอยู่ตามเฮย์ยะต่างๆ กว่า 660 คน
การเริ่มต้นจะมาเป็นนักซูโม่นั้นก็ต้องมาสมัคร ซึ่งในเเต่ละปีทางสมาคมซูโม่ญี่ปุ่นจะเปิดรับสมัครเด็กผู้ชายอายุ 15 ปีขึ้นไปมาเข้ารับการฝึกเป็นซูโม่ เเต่ในปัจจุบันนั้นมีเด็กมาสมัครเพียงเเค่ปีละ 100 คนเท่านั้นเอง เพราะว่าเป็นการฝึกที่หนักเเละได้รับค่าตอบเเทนที่ต่ำอีกด้วย ช่วงเเรกที่เข้าไปฝึกนั้นจะเป็นเหมือนกับคนรับใช้ให้กับนักซูโม่รุ่นพี่เลยทีเดียว เเละต้องมีหน้าที่ในการทำงานในค่ายฝึกต่างๆ มากมาย รวมทั้งการฝึกซ้อมอีกด้วย เเละกว่าจะก้าวขึ้นมาเเข่งบนเวทีได้ก็ต้องใช้เวลากว่า 10 ปี
ชีวิตประจำวันในเเต่ละวันของนักซูโม่นั้นจะเป็นเเบบเเผนเเละมีวิธีปฏิบัติที่ตายตัวเป็นอย่างยิ่ง และนักซูโม่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ทั้งเรื่องของการตื่นนอน การกินอาหาร การฝึกซ้อม เเละการเเต่งกาย กว่าจะได้รับเงินเดือนนั้นก็ต้องเข้าร่วมการเเข่งขันประจำปี แต่ถ้าสามารถขึ้นไปในระดับสูงๆ ได้ก็จะมีเงินจากทางสปอนเซอร์พร้อมชื่อเสียงเข้ามามากมาย
สำหรับเทศกาลในการเเข่งขันซูโม่ ประจำปีนั้น จะมีการจัดการเเข่งขันกันใน 6 สนามเเข่งขั้น แต่ละสนามจะแข่งทั้งหมด 15 วันด้วยกัน นักซูโม่ทุกคนจะต้องลงทำการเเข่งขันวันละ 1 ครั้งตลอด 15 วัน หลังจากเสร็จสิ้นการเเข่งขันในสนามนั้นๆ จะมีการนำมาคิดในการเลื่อนชั้นหรือหล่นขั้น
สำหรับการเเข่งขันทั้ง 6 สนามนั้นจะมีการจัดจัดการเเข่งขันในโตเกียว 3 สนามด้วยกัน คือในเดือมกราคม, พฤษภาคม เเละกันยายน ส่วนที่โอซาก้านั้นจะจัดในเดือนมีนาคม เเละนาโกย่าในเดือนกรกฎาคม ส่วนที่ฟุกุโอกะนั้นจัดในเดือนพฤศจิกายน เเละยังมีช่วงที่ไปเเข่งโชว์เเบบออนทัวร์อีกด้วย คือในเดือนเมษายนนั้นจะไปทัวร์เเถวคันไซเเละคันโต ส่วนในช่วงฤดูร้อนช่วงเดือนสิงหาคมนั้นจะไปทัวร์เเถวโทโฮคุ เเละฮอกไกโด ส่วนในเดือนตุลาคมนั้นจะไปทัวร์ในภูมิภาค ชูโกกุเเละชิโกกุ เเละสุดท้ายหลังจากทราบเเล้วว่าใครได้เเชมป์ซูโม่ประจำปีก็จะไปทัวร์กันที่ภูมิภาคคิวชูเเละโอกินาว่า
สำหรับผู้ที่ได้เเชมป์นั้นจะได้รับรับพระราชทานถ้วยรางวัลจากองค์จักรพรรดิ พร้อมกับรางวัลเป็นเงินสดเเละอาหารที่มีทั้งเนื้อวัวชั้นเลิศเเละข้าวสารจำนวนมหาศาลที่สามารถเลี้ยงได้ทั้งเฮย์ยะตลอดทั้งปี
เทศกาลแข่งขันซูโม่ ในเเต่ละปีนั้นนับว่าเป็นเทศกาลประจำปีที่มีชื่อเสียงเเละเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างยิ่ง โดยจัดการเเข่งขันที่ สนามกีฬาซูโม่แห่งชาติเรียวโงะกุ ในกรุงโตเกียว 3 ครั้ง โดยที่นี่เป็นสนามเเข่งขันกีฬาซูโม่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นเเละมีชื่อเสียงมากที่สุดอีกด้วย สนามแห่งนี้อยู่ภายใต้การดูเเลของสมาคมซูโม่ญี่ปุ่น มีความจุ 13,000 ที่นั่ง เเละใช้จัดการเเข่งขัน 3 ทัวร์นาเม้นท์ ในเดือน มกราคม พฤษภาคม และกันยายน
การเเข่งขันซูโม่นั้นไม่ได้มีการเเบ่งรุ่นน้ำหนัก ซึ่งโดยปกติเเล้วน้ำหนักของนักซูโม่จะต้องมากกว่า 90 กิโลกรัม ซึ่งเคยมีนักซูโม่ที่มีน้ำหนักน้อยที่สุดก็อยู่ที่ 90 กิโลกรัมนั่นเอง เเต่ส่วนใหญ่เเล้วจะอยู่ที่ระหว่าง 110-150 กิโลกรัม เเต่ก็เคยมีนักซูโม่ที่ใช้ชื่อว่า โคนิชิกิ ซึ่งมีน้ำหนักตัวถึง 253 กิโลกรัม และเขาเป็นนักซูโม่ที่มีรูปร่างใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์วงการซูโม่ญี่ปุ่น โคนิชิกิ เป็นชาวฮาวาย เเละเป็นนักซูโม่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างมากในญี่ปุ่นยุคนั้น
ภายในของสนามเเข่งขัน Sumo นั้นจะประกอบไปด้วยเวทีสำหรับเเข่งขันที่อยู่ตรงกลาง โดยฐานนั้นเป็นไม้เเละมีการสร้างสนามเเข่งขันขึ้นมาด้วยดินเหนียวผสมทรายและฟางข้าว จะมีการกั้นเป็นพื้นที่ลักษณะวงกลมที่เรียกว่า โดเคียว ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.55 เมตร ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 16.26 ตารางเมตร ที่ตรงกลางวงกรมจะมีเส้นสีขาวจำนวนสองเส้น ไว้สำหรับให้นักกีฬาซูโม่เตรียมตัวเข้าสู่การเเข่งขัน
ท่าเตรียมตัวที่พวกเขาจะทำก็คือการย่อเข่าเเละกำหมัดทั้งสองข้างไว้บนเส้นสีขาวนี้ ก่อนที่กรรมการจะยกพัดขึ้นอันเป็นสัญญาณให้เริ่มทำการเเข่งขันได้ ส่วนด้านบนของพื้นที่ทำการเเข่งขันนั้นจะเป็นหลังคาที่มีลักษณะคล้ายกับศาลเจ้าเป็นอย่างมาก โดยเเขวนเอาไว้เหนือพื้นที่วงกลมที่ใช้สำหรับทำการเเข่งขันนั่นเอง
การเริ่มต้นการเเข่งขันซูโม่นั้นค่อนข้างมีพิธีรีตองมากมาย เริ่มต้นจากการนำเอาเหล่านักซูโม่ขึ้นมาโชว์ตัวรอบเส้นวงกลม เเละจึงเริ่มการเเข่งขันในเเต่ละคู่ โดยคู่เเรกๆ ที่ทำการเเข่งขันนั้นจะเป็นคู่ที่อยู่ในเลเวลที่ต่ำๆ ส่วนบรรดานักซูโม่เลเวลสูงๆ นั้นจะอยู่ในคู่ท้ายๆ
โดยเริ่มต้นนักนักกีฬาซูโม่จะขึ้นมาบนเวทีพร้อมกับการหยิบเกลือมาสาดลงไปในสนาม ซึ่งจำนวนครั้งที่ทำนั้นก็จะขึ้นกับระดับชั้นของนักซูโม่เเต่ละคน เเละจึงเข้าสู่เส้นสำหรับเตรียมตัวในท่าเตรียมพร้อม ก่อนที่กรรมการซึ่งจะสวมใส่ชุดญี่ปุ่นโบราณจะเริ่มต้นยกพัดเป็นสัญญาณให้เริ่มปล้ำกันได้ กติกาของซูโม่นั้นง่ายอย่างมาก โดยนักซูโม่คนเเรกที่สามารถบังคับให้ฝ่ายตรงข้ามก้าวออกมาจากวงแหวน หรือสามารถบังคับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายฝ่ายตรงข้ามนอกเหนือจากฝ่าเท้าให้สัมผัสกับพื้นดิน ด้านนอกวงกลมได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะ
เเต่อาจจะมีบางกรณีที่ล้มลงหรือสัมผัสกับพื้นดินเเทบจะพร้อมกัน จะถือว่านักซูโม่คนเเรกที่ลงถึงพื้นก่อนเป็นผู้ชนะ ซึ่งจะเรียกกรณีเเบบนี้ว่า ศพ นอกจากนี้เเล้วการที่นักซูโม่บาดเจ็บระหว่างเเข่งขันจนไม่สามารถเเข่งขันต่อได้ก็จะถือว่าเเพ้ไป หรือนักซูโม่ใช้เทคนิคที่ผิดกติกาก็จะถูกปรับเเพ้อีกด้วย เเละมีกฎเเปลกๆ อย่างเช่นการรัดเข็มขัดไม่เรียบร้อยก็จะถูกปรับเเพ้หรือการไม่สามารถมาปรากฏตัวในการแข่งขันก็ถือว่าเเพ้ไปเช่นกัน
หลังจากที่กรรมการประกาศชื่อผู้ที่ชนะในเเต่ละคู่เเล้วจะมีการระบุเทคนิคที่ใช้ในการเอาชนะให้ผู้เข้าชมได้รู้อีกด้วย ซึ่งเวลาที่ใช้ในการเเข่งขันรู้ผลกันจริงๆ นั้นไม่กี่วินาที เเต่ขั้นตอนก่อนเริ่มเเข่งขันจะเป็นพิธีกรรมที่กินเวลานานกว่ามาก เเละซูโม่ที่เราเห็นว่ามีลักษณะท้วมๆ นั้นเเท้จริงเเล้วพวกเขาเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ทั้งนั้น
นักกีฬา Sumo ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักหรืออยู่ในระดับสูงมากๆ จะมีเด็กรับใช้ถือเบาะรองนั่งมาให้ขณะที่มานั่งรอขึ้นเวที ในขณะที่นักซูโม่ระดับล่างๆ ที่ยังไม่มีชื่อเสียงจะต้องถือมาเองเเละถือกลับเอง เเถมนักซูโม่ที่มีชื่อเสียงนั้นจะมีธงเเละป้ายสปอนเซอร์มากมายระหว่างเดินออกมา เเละหากสามารถเก็บชัยชนะได้ก็จะมีซองเงินสนับสนุนให้อีกด้วย ซึ่งในเเต่ละเเมทช์นั้นจะมีมูลค่ามากเลยทีเดียว จึงเป็นอีกหนึ่งในเเรงจูงใจให้นักซูโม่หน้าใหม่พยายามจะเก็บชัยชนะให้เลื่อนชั้นไปสู่ระดับที่สูงให้ได้
เเน่นอนเลยว่านักท่องเที่ยวที่ต้องการมาชมงานเทศกาลเเข่งขันซูโม่นั้นสามารถเข้าไปตรวจสอบวันเวลาในการเเข่งขันเเละสถานที่จัดเเข่งขันได้ที่เวบไซต์ของสมาคมซูโม่ญี่ปุ่น ที่ http://www.sumo.or.jp/en/ โดยจะมีการจองตั๋วเข้าชมทางออนไลน์อีกด้วย เพราะว่าหากจะไปซื้อที่หน้าสนามนั้นจะเป็นความเสี่ยงอย่างมาก เนื่องจากตั๋วจะหมด
เมื่อเดินทางมายังสนามเเข่งขันและซื้อตั๋วออนไลน์มาเเล้วก็สามารถมาเเลกเป็นตั๋วที่ตู้อัตโนมัติ หลักจากนั้นจะมี เดกาตะซัง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ซึ่งจะสวมชุดฮากามะ นำไปยังที่นั่งของคุณ โดยที่นั่งนั้นจะเเย่งออกเป็นสองเเบบด้วยกัน คือเเบบเป็นบล็อค 4 ที่นั่งเเบบญี่ปุ่น โดยจะอยู่ใกล้กับเวทีอย่างมาก โดยมีสนราคาต่อที่นั่งอยู่ที่ 11,700 เยน 10,600 เยน เเละ 9,500 เยน ส่วนที่เป็นเเบบเก้าอี้ปกติ โดยจะอยู่ที่ชั้นบนนั้นจะมีเรทราคาอยู่ที่ 8,500 เยน 5,100 เยน เเละ 3,800 เยน
ในช่วงของการเเข่งขันนั้นสนามจะเปิดตั้งเเต่ 8.00 น. ซึ่งหากคุณจะไปหาตั๋วเพื่อเข้าชมที่หน้าสนามก็ควรไปในช่วงเช้าๆ เเต่จริงๆ เเเล้วจะเริ่มการเเข่งขันกันในเวลา 14.20 น. จนถึงเวลา 18.00 น. เวลาไปสนามเพื่อชมการแข่งขันอยากให้เผื่อเวลาเดินเที่ยวด้วย เพราะที่นี่มีกิจกรรมมากมาย เเละสามารถเข้าไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ซูโม่ที่ชั้นล่างของสนามเเข่งขันได้ก่อน
หากใครสั่งอาหารเอาไว้ล่วงหน้าเมื่อเข้าไปในสนามจะมีอาหารให้คุณได้ทานระหว่างชมการเเข่งขันเเละอย่างพลาดซื้อ Booklet ที่จัดทำโดยสมาคมซูโม่ ซึ่งมีเนื้อหาในการอธิบายประวัติ กฎ กติกา พิธีกรรมต่างๆ ของซูโม่ไว้อย่างครบครันในราคาเล่มละ 100 เยนเท่านั้น
ไปถึงญี่ปุ่นทั้งทีอย่าลืมหาโอกาสเข้าไปชมการแข่งขันซูโม่กันบ้างนะครับ
เที่ยวญี่ปุ่น, ญี่ปุ่น, Sumo, ซูโม่